เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

เอาน้ำประพรมตามสมควรแก่เวลา เพ่งดูตามสมควรแก่เวลา ทองนั้นเป็นทองที่
ถูกไล่ขี้เขม่าหมดแล้ว จึงเป็นทองอ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ผุดผ่อง และ
ช่างทองหรือลูกมือของช่างทองมุ่งหมายจะทำเครื่องประดับชนิดใด ๆ คือ แผ่นทอง
ต่างหู สร้อยคอ หรือมาลัยทอง ทองนั้นย่อมอำนวยประโยชน์ให้เขาได้ แม้ฉันใด1
อุเบกขาอื่นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นอุเบกขาบริสุทธิ์ผุดผ่อง อ่อน เหมาะแก่
การใช้งาน และผ่องใสเหลืออยู่
[361] บุคคลนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควร2แก่ธรรมนั้น3 เมื่อ
เป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น
ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้ก็จะ
เป็นอุเบกขาที่อาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น
คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น
คงอยู่ตลอดกาลนาน
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น อุเบกขาของเรานี้
ก็จะเป็นอุเบกขาที่อาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญา-
นาสัญญายตนฌานนั้น คงอยู่ตลอดกาลนาน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ [4. วิภังควรรค] 10. ธาตุวิภังคสูตร

[362] ภิกษุนั้นรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้
เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็
จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน
และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแล้ว
ถ้าเราน้อมอุเบกขาอันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตน
ฌาน และอบรมจิตให้มีธรรมสมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็จะเป็นจิตที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง
แล้ว
ภิกษุนั้นจะไม่ปรุงแต่ง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เธอเมื่อไม่
ปรุงแต่ง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดหวั่น
เมื่อไม่หวาดหวั่น ย่อมดับกิเลสได้เฉพาะตนเท่านั้น รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
[363] ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน‘1
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา จึงรู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า
‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’
[364] ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยสุขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา จึงเป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น